Booking.com

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2550

Bridge Over The River Kwai สะพานข้ามแม่น้ำแคว




Located in Tambol Tha Makham,approximately 4 km. to the north of the city on Highway 323, with a left turn for some 400 metres. A site of significant historical importance, the bridge was built during World war 2 under the supervision of the Japanese Army by Allied POWs comprising of 61,700 British, American, Australian, Dutch and New Zealand soldiers and a large number of Chinese, Vietnamese,Japanese, Malaysian, Thai , Burmese and Indian labourers. It was part of the strategic. railway linking Thailand with, then Burma. The painstaking construction of the Bridge over the Khwae Yai River - River Kwai as it is known among foreigners, brutalities of war, diseases and starvation claimed thousands of lives of the POWs.
A Fairmong tram service is available daily at the bridge during 8.00 - 9.30 a.m.,11.20 a.m. - 2.00 p.m.,3.00 - 4.00 p.m. and 6.00 - 6.30 p.m. on weekdays, and 8.00 - 9.30 a.m.,11.20 - 2.00 p.m. and 6.00 - 6.30 p.m. on weekends The fare is 20 bath

สะพานข้ามแม่น้ำแคว เป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญยิ่งแห่งหนึ่ง เป็นสะพานที่สำคัญที่สุดของเส้นทางรถไฟสายมรณะ สร้างขึ้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 โดยกองทัพญี่ปุ่นได้เกณฑ์เชลยศึกฝ่ายสัมพันธมิตร ได้แก่ ทหารอังกฤษ อเมริกัน ออสเตรเลีย ฮอลันดา และนิวซีแลนด์ประมาณ 61,700 คน และกรรมกรชาวจีน ญวน ชวา มลายู ไทย พม่า อินเดียอีกจำนวนมาก มาก่อสร้างทางรถไฟสายยุทธศาสตร์ เพื่อเป็นเส้นทางผ่านไปสู่ประเทศพม่า
ซึ่งเส้นทางช่วงหนึ่งจะต้องข้ามแม่น้ำแควใหญ่ จึงต้องมีการสร้างสะพานขึ้น การสร้างสะพานและทางรถไฟสายนี้ เต็มไปด้วยความยากลำบาก ความทารุณของสงครามและโรคภัย ตลอดจนการขาดแคลนอาหาร ทำให้เชลยศึกหลายหมื่นคนต้องเสียชีวิตลง ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองสะพานข้ามแม่น้ำแควเดิมได้รับความเสียหาย และรัฐบาลไทยได้ซ่อมแซมใหม่ ภายหลังสงครามสิ้นสุดลง เมื่อปี พ.ศ. 2489 จนสามารถใช้งานได้ดังเดิม ปัจจุบัน มีการยกย่องให้สะพานข้ามแม่น้ำแคว เป็นสัญลักษณ์แห่งสันติภาพ เดิมที สะพานข้ามแม่น้ำแคว ไม่เคยมีจริงในประวัติศาสตร์ แต่เนื่องจากทางอเมริกาได้ทำเป็นหนัง ดังนั้นทางจังหวัดจึงมีความเห็นให้ตั้งชื่อสะพานที่ท่ามะขามให้เป็นสะพานข้ามแม่น้ำแคว เพื่อให้เหมือนในหนัง และได้มีกลุ่มนักท่องเที่ยวมาตามหาจริงๆ สร้างรายได้ให้แก่ท้องถิ่น สะพานเดิมนั้นจะเป็นเหล็กโค้ง ส่วนที่เป็น4เหลี่ยมเป็นการซ่อมแซม สะพานเหล่านี้เดิมทีมีมากมายหลายแห่งในประเทศไทยและลาวพม่าแต่ส่วนใหญ่ทำจากไม้ ในไทยมีที่ทำจากเหล็กไม่ถึง 15 สะพาน
==> ที่สะพานข้ามแม่น้ำแคว มีบริการรถราง Fairmong ทุกวัน โดยวันธรรมดา จะมีตั้งแต่เวลา 08.00-10.30 น., 11.20-14.00 น., 15.00-16.00 น., และ 18.00-18.30 น. วันเสาร์-อาทิตย์ ตั้งแต่เวลา 08.00-09.30 น., 11.20-14.00 น., และ 18.00-18.30 น. ค่าโดยสารคนละ 20 บาท
===> งานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว จัดในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคมของทุกปี เพื่อรำลึกถึงความสำคัญของการสร้างทางรถไฟสายมรณะ และสะพานข้ามแม่น้ำแคว ซึ่งเป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการแสดงนิทรรศการในทางประวัติศาสตร์ และโบราณคดี การแสดงพื้นบ้าน การออกร้านจำหน่ายสินค้าพื้นเมือง และการแสดง แสง สี เสียง บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำแคว

The Bridge on the River Kwai
เดอะบริดจ์ออนเดอะริเวอร์แคว (อังกฤษ: The Bridge on the River Kwai) หรือ สะพานข้ามแม่น้ำแคว เป็นภาพยนตร์อังกฤษที่ออกฉายในปี พ.ศ. 2500 สร้างจากนวนิยายภาษาฝรั่งเศสชื่อ "Le Pont de la Rivière Kwai" (หรือ The Bridge over the River Kwai) ของปิแอร์ บูเล อดีตทหารผ่านศึกชาวฝรั่งเศสที่ตกเป็นเชลยของกองทัพญี่ปุ่น และเป็นแรงงานสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแควและทางรถไฟสายมรณะ ที่จังหวัดกาญจนบุรี ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
==> ภาพยนตร์เรื่องนี้ไม่ได้ถ่ายทำในประเทศไทย แต่ถ่ายทำที่เมือง Kitulgala ทางตะวันตกของประเทศศรีลังกา และบางส่วนถ่ายทำที่ประเทศอังกฤษ เดอะบริดจ์ออนเดอะริเวอร์แคว ได้รับรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยมในปี 1957 สาขาภาพยนต์ยอดเยี่ยม หลังจากนั้นสะพานข้ามแม่น้ำแควจึงกลายเป็นสัญลักษณ์ของสันติภาพ ที่มีนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมทั้งคนไทยและต่างชาติ
เพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ ที่มีชื่อเสียงคือ เพลง Colonel Bogey March (ฟังเสียง)เป็นเพลงมาร์ชของกองทัพอังกฤษซึ่งแต่งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2457 ในภาพยนตร์ไม่ได้ใช้เครื่องดนตรีบรรเลง แต่ใช้เสียงผิวปากเป็นทำนอง
ภาพยนตร์ The Bridge on the River Kwai ได้เสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ประจำปี 1957 จำนวน 8 สาขา ได้รับ 7 รางวัลจากสาขาผู้กำกับยอดเยี่ยม นักแสดงนำชาย กำกับภาพ ตัดต่อ บทภาพยนตร์ดัดแปลง ดนตรีประกอบ และภาพยนตร์ยอดเยี่ยม
นักแสดงชาวไทยที่ร่วมแสดงในภาพยนตร์เรื่องนี้ ได้แก่ หม่อมราชวงศ์พงษพรหม จักรพันธุ์ รับบทนายพราน วิไลวรรณ วัฒนพานิช, งามตา ศุภพงษ์, ชวนารถ ปัญญโชติ และกรรณิกา ดาวคลี่



ไม่มีความคิดเห็น: